วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดี ที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2556



สัปดาห์ที่ 3



         วันนี้อาจารย์สอนเทคนิคการสอนคณิศาสตร์แบบบูรณาการและสามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์และใช้ได้จริงโดยผ่านกินกรรม ดังนี้

         อาจารย์แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดยให้ชมาชิกในกลุ่มทุกคนเลือกสิ่งของอารัยก้อได้มา 1 ชิ้น และหัยแต่ละกลุ่มกำหนดเกณฑ์ 1 เกณฑ์ เพื่อเป็นตัวแบ่งสิ่งของต่างๆ

        การจัดรูปแบบการสอนต้องใช้เป็นรูปธรรมมากๆและควรให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง

ในกิจกรรมนี้ได้รับความรู้ ดังนี้

- คณิตศาสตร์ประกอบไปด้วยเรื่องใดบ้าง

- การบูรณาการในการสอนคณิตศาสตร์เป็นอย่างไร

- รู้จักการระดมความคิดกันภายในกลุ่ม

- ให้มีส่วนร่วม รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน


      ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลขเป็นอันดับแรกที่เด็กควรรู้จัก เป็นการนับแบบมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 - 10

2. ตัวเลข เป็นกรให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง

3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆและจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน

4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆของสิ่งของว่าแตกต่างกันหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่างๆ

5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสื่อสารและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่าในคำศัพท์

6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆตามคำสั่งหรือตามกฏ

7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วงกลม และอื่นๆ

8. การวัด มักให้เด็กลงมื้อวัดด้วยตนเองให้รู้จักการวัดและระยะทาง รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคราวๆก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด

นอกจากนี้อาจารย์ยังมีกิจกรรมปิดท้ายการสอนโดยให้พากเราร้องเพลง

เช่น


          
                เพลงสวัสดียามเช้า

   ตื่นเช้าแปลงฟันล้างหน้า อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว

   กินอาหารของดีมีทั่ว หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน

   สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน

   หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา



     เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

 ดังนี้

- เรียงลำดับเหตุการณ์

- เวลา

- ลำดับเสียงสูง-ต่ำ





การนำไปประยุกต์ใช้

               สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กได้จริงในการทำกิจกรรม และเทคนิคการสอนของอาจารย์ สามารถนำไปปรับใช้และบูรณาการให้แตกไปได้อีกหลายกิจกรรม



การประเมินผล

             ตนเอง: วันนี้รู้เหมือนจะหลับอยู่ตลอดเวลาไม่ค่อยสนใจฟังอาจารย์พูดสักเท่าไหร่ แต่เมื่ออาจารย์ได้นำกิจกรรมพร้อมกับเสียงเพลงมาให้ร้อง เล่นก็รู้สึกไม่ง่วงเลยแถมยังร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆได้อย่างสนุกสนาน

             เพื่อน: วันนี้เพื่อนๆทุกคนต่างตั้งใจเรียนกันเป็นอย่างดี แต่เพื่อนบางคนก็ดูเหมือนจะเบื่อๆบ้างกับการนั่งฟังอาจารย์พูด แต่พอถึงเวลาทำกิจกรรมเพื่อนๆก็ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี

             อาจารย์: วันนี้อาจารย์เตรียมสื่อที่จะมาสอนนักศึกษามาเป็นอย่างดี แต่วันนี้นี้มีบางช่วงที่อาจารย์อาจจะพูดยืดยาวไปบ้างพูดวกวนไปมาจนทำให้นักศึกษาไม่เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์จะสอนจริงๆและอาจจะทำให้การสอนน่าเบื่อแต่พออาจารย์ได้นำเข้าถึงกิจกรรมพร้อมกับเพลงทุกคนก็ร่วมมือกันเป็นอย่างดี











แล้วเจอกันใหม่ครับบบบบบบ



   

              











วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดี ที่ 14 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2556



สัปดาห์ที่ 2


ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์นำตัวเลขมาให้นักศึกษาทายว่าสามรถแทนค่าเป็นอะไรได้บ้าง
            350  158  60  50  4915481
ตัวเลขแต่ละชุดอาจจะทายได้หลายค่า เช่น 350  จำนวนเงิน  เลขที่ห้อง 60  อายุ  น้ำหนัก
เพราะเลขแต่ละตัวสามารถใช้แทนค่าได้หลายค่า


**แต่สำหรับการสอนเด็กปฐมวัย ไม่ควรใช้ตัวเลขหลายหลักและมีจำนวนที่มากเกินไป


แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์



1. ทำความเข้าใจกับหลักสูตร
2. ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆ ความต้องการและความสามารถของเด็กปฐมวัยเพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการ ความต้องการ ความสนใจ และความสามารถของเด็ก
3. จัดหาสื่อการเรียนที่เด็กสามารถจับต้องได้ให้เพียงพอ
4. จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็ก
5. เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ได้ลงมือทำ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก
6. ฝึกให้เด็กคิดแก้ไขปัญหา ใช้ความคิดสร้างสรรค์
7. จัดกิจกรรมโดยคำนึงถึงความแตกต่าง ครูควรจัดกิจกรรมให้หลากหลาย
8. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนและบ้าน เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อม
9. จัดสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนคณิตศาสตร์


          

          คณิตศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการคำนวณทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เช่น การนับ การคำนวณการประมาณ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
เด็กจจะใช้คณิตศาสตร์อย่างง่ายจากความคิดของเขาแล้วค่อยๆพัฒนาถึงความคิดแบบคณิตศาสตร์อย่างถูกต้อง ขึ้นอยู่กับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน




          ความสำคัญของการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


            ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นทักษะความสามารถที่เราอยากให้เด็กมี มีการเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ได้ จะช่วยขยายประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ เด็กที่เล่นมาก อ่านมาก จะทำให้มีประสบการณ์มากและช่วยให้เด็กเข้าใจในความหมายสัญลักษณ์ต่างๆได้




ขั้นกิจกรรม

           อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ5 คนแล้วให้หัวข้อเพื่อไปศึกษา แล้ว สรุปเป็นความคิดรวบยอด เพื่อที่จะมาแชร์กับเพื่อน กลุ่มดิฉันได้เรื่อง"แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย"อาจารย์ให้นำความรู้ที่ได้รับจากกลุ่มของตัวเองไปแชร์กับกลุ่มเพื่อน ดิฉันได้รับความรู้เพิ่มเติมจากกลุ่มอื่นๆ ดังนี้


เจ้าบ้านหลังที่ 1


-พัฒนาการจะเป็นไปตามลำดับขั้น เช่น เด็กจะคลานก่อนเดินไม่ได้
- เด็กแต่ละคนจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน
- จะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
- พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน

เจ้าบ้านหลังที่ 2


- ประสบการณ์จะเป็นตัวปรับสมดุลระหว่างเด็กกับสิ่งแวดล้อม
- เด็กปฐมวัยเรียนรู้จาการเรียนแบบ "ทฤษฎีวอลดอร์ฟ" คือเด็กจะเลียนแบบบุคลที่ชอบเช่น พ่อแม่ ครู
- ทฤษฎีเกสตัสท์  มองส่วนรวมแล้วค่อยมองส่วนย่อย เพราะเด็กจะเรียนรู้จากส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย

เจ้าบ้านหลังที่ 3


ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย


- การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม คือ สามารถพัฒนาเด็กให้ครบทุกด้าน เป็นหลักสูตรที่เปิดโอการ คือ เด็กด้อยโอกาสหรือเด็กพิเศษสามารถเรียนได้
- การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก คือ สถานที่ต้องสะอาด ปลอดภัย มีสื่อและของเล่นที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
- การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก
- การบรูณาการการเรียนรู้ คือ 1 กิจกรรมสามารถเรียนรู้ได้หลากหลายทักษะ
- การประเมินและพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก จะยึดวิธีการสังเกตเด็ก
- ความสัมพันธ์ระหว่างครูและครอบครัวของเด็ก ผู้ปกครองควรมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเด็กกับครู



                       

 การนำไปประยุกต์ใช้


             สามารถนำไปจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ เพื่อจะทำให่เด็กเข้าใจในความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ การเปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ได้ ฝึกให้เด็กได้คิดแก้ไขปัญหา ฝึกใช้ความคิดสร้างสรรค์ และสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันเด็กเพราะจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้ดี




การประเมินผล

             ตนเอง: วันนี้ในช่วงทำกิจกรรมนั้นดิฉันได้เป็นตัวแทนบ้านที่ต้องนั่งอยู่บ้านเพื่อที่จะรออธิบายเกี่ยวกับหัวข้อที่กลุ่มบ้านของตนเองได้ซึ้งทำให้รู้ว่าการที่จะต้องจับใจความสำคัญและความหมายต่างๆเพื่อที่จะต้องไปเล่าให้คนอื่นๆฟังนี้มันก็ไม่ง่ายอย่างที่คิดเพราะถ้าเราไม่สามารถพูดให้ฟังได้เราก็ไม่สามารถไปสอนหรือสื่อสารกับเด็กๆได้เช่นกัน

             เพื่อน: วันนี้เพื่อนๆต่างคนก้อต่างเวียนกันไปศึกษาข้อมูลต่างๆตามบ้านที่อาจาย์กำหนดให้ ซึ้งบางคนที่ได้เป็นเจ้าของบ้านก็ต่างเตรียมตัวอธิบายให้เพื่อนคนอื่นๆได้ฟังกันเป็นอย่างดี

             อาจารย์: วันนี้อาจารย์ได้เตรียมกิจกรรมมาสอนนักศึกษาได้เป็นอย่างดีและมีกินกรรมหลากหลายเพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาและรู้หลักการสอนต่างๆได้เป็นอย่างดี





เป็นไงกันบ้างจ๊ะกิจกรรมในวันนี้.......^ ^














วันพฤหัสบดี ที่ 7 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ 2556

  



สัปดาห์ที่ 1


        วันนี้เป็นวันแรกของการเรียนวิชานี้
อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับวิธีการสร้างบล็อกให้นักศึกษาได้ทราบ
ถึงองค์ประกอบของบล็อก ดังนี้


-หัวข้อ คำอธิบายรายวิชา
-ปฏิทิน นาฬิกา 
-วิจัย บทความ แหล่งสนับสนุน
-สื่อคณิตศาสตร์ เช่นแบบฝึกหัดสำหรับเด็กปฐมวัย
-สถิติการเยี่ยมชม
-ลิงค์อาจารย์และเพื่อนให้ครบ
-ความรู้เพิ่มเติมต่างๆ เช่น นิทานและเพลงทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย





   ถ้าพูดถึงเด็กปฐมวัยจะต้องคำนึงถึงพัฒนาการ


             พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปพฤติกรรมที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และบ่องบอกได้ว่าในช่วงอายุนั้นๆเด็กจะทำอะไรได้บ้าง
พัฒนาการมี4ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ  สังคม  สติปัญญา






การจัดประสบการณ์

 - แนวทางการจัดประสบการณ์
- รูปแบบ
- สื่อ
- การประเมินผล
- ทฤษฎีการสอน
- จุดมุ่งหมาย เป้าหมาย  กิจกรรม





คณิตศาสตร์


- การนับเลข
-เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์
- รูปทรงเรขาคณิต
- การเรียงลำดับ
- การคำนวณ
- เวลา
- ระยะทาง
- การวัด





การนำไปประยุกต์ใช้

ในการไปสอนเด็กเราสามารถจักประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ และเลือกสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับวัยของเด็กได้ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กมิใช่เพียงการสอนบวก-ลบเลขแต่เราสามารถจัดกิจกรรมที่สอดแทรกการสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้กับเด็กได้ เช่น การสอนเด็กนับเลขโดยใช้เพลง เด็กก็จะเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เพราะหัวใจสำคัญของเด็กปฐมวัยคือ การเล่น และการจัดกิจกรรม  จะสามารถพัฒนาเด็กให้ครบ 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ๋-จิตใจ สังคม และสติปัญญา จะทำให้เด็กมีความพร้อม และสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ





การประเมินผล


ตนเอง: วันนี้เปิดเรียนวันแรกรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้มาเจออาจารย์ เจอเพื่อนๆ

เพื่อน: วันนี้เปิดเรียนวันแรกเพื่อนก็ยังมาเรียนไม่ครบแต่เพื่อนๆที่มาวันนี้ต่างคนต่างน่าตาชดชื่น ยิ้มแย้มแจ่มใสกันทุกคน

อาจารย์: วันนี้อาจารย์ยังไม่ได้เริ่มสอนแต่อาจารย์ก็ไดอภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะสอนในวิชานี้ให้กับนักศึกษาได้ฟัง











เรียนวันแรกจ้า.........^ ^















แล้วเจอกันในกิจกรรมใหม่ๆพรุ่งนี้นะจ๊ะ.....^ ^