วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดี ที่ 21 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2556



สัปดาห์ที่ 3



         วันนี้อาจารย์สอนเทคนิคการสอนคณิศาสตร์แบบบูรณาการและสามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์และใช้ได้จริงโดยผ่านกินกรรม ดังนี้

         อาจารย์แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน โดยให้ชมาชิกในกลุ่มทุกคนเลือกสิ่งของอารัยก้อได้มา 1 ชิ้น และหัยแต่ละกลุ่มกำหนดเกณฑ์ 1 เกณฑ์ เพื่อเป็นตัวแบ่งสิ่งของต่างๆ

        การจัดรูปแบบการสอนต้องใช้เป็นรูปธรรมมากๆและควรให้เด็กได้ลงมือทำด้วยตนเอง

ในกิจกรรมนี้ได้รับความรู้ ดังนี้

- คณิตศาสตร์ประกอบไปด้วยเรื่องใดบ้าง

- การบูรณาการในการสอนคณิตศาสตร์เป็นอย่างไร

- รู้จักการระดมความคิดกันภายในกลุ่ม

- ให้มีส่วนร่วม รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน


      ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย

1. การนับ เป็นคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับตัวเลขเป็นอันดับแรกที่เด็กควรรู้จัก เป็นการนับแบบมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1 - 10

2. ตัวเลข เป็นกรให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นกับตัวเลข ให้เด็กได้นับและคิดเอง

3. การจับคู่ เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆและจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน

4. การจัดประเภท เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตลักษณะต่างๆของสิ่งของว่าแตกต่างกันหรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่างๆ

5. การเปรียบเทียบ เด็กจะต้องมีการสื่อสารและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่าในคำศัพท์

6. การจัดลำดับ เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆตามคำสั่งหรือตามกฏ

7. รูปทรงและเนื้อที่ นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้ว ครูยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับ วงกลม และอื่นๆ

8. การวัด มักให้เด็กลงมื้อวัดด้วยตนเองให้รู้จักการวัดและระยะทาง รู้จักการชั่งน้ำหนักและรู้จักการประมาณอย่างคราวๆก่อนที่เด็กจะรู้จักการวัด

นอกจากนี้อาจารย์ยังมีกิจกรรมปิดท้ายการสอนโดยให้พากเราร้องเพลง

เช่น


          
                เพลงสวัสดียามเช้า

   ตื่นเช้าแปลงฟันล้างหน้า อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว

   กินอาหารของดีมีทั่ว หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน

   สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน

   หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา



     เกี่ยวกับคณิตศาสตร์

 ดังนี้

- เรียงลำดับเหตุการณ์

- เวลา

- ลำดับเสียงสูง-ต่ำ





การนำไปประยุกต์ใช้

               สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กได้จริงในการทำกิจกรรม และเทคนิคการสอนของอาจารย์ สามารถนำไปปรับใช้และบูรณาการให้แตกไปได้อีกหลายกิจกรรม



การประเมินผล

             ตนเอง: วันนี้รู้เหมือนจะหลับอยู่ตลอดเวลาไม่ค่อยสนใจฟังอาจารย์พูดสักเท่าไหร่ แต่เมื่ออาจารย์ได้นำกิจกรรมพร้อมกับเสียงเพลงมาให้ร้อง เล่นก็รู้สึกไม่ง่วงเลยแถมยังร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนๆได้อย่างสนุกสนาน

             เพื่อน: วันนี้เพื่อนๆทุกคนต่างตั้งใจเรียนกันเป็นอย่างดี แต่เพื่อนบางคนก็ดูเหมือนจะเบื่อๆบ้างกับการนั่งฟังอาจารย์พูด แต่พอถึงเวลาทำกิจกรรมเพื่อนๆก็ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี

             อาจารย์: วันนี้อาจารย์เตรียมสื่อที่จะมาสอนนักศึกษามาเป็นอย่างดี แต่วันนี้นี้มีบางช่วงที่อาจารย์อาจจะพูดยืดยาวไปบ้างพูดวกวนไปมาจนทำให้นักศึกษาไม่เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์จะสอนจริงๆและอาจจะทำให้การสอนน่าเบื่อแต่พออาจารย์ได้นำเข้าถึงกิจกรรมพร้อมกับเพลงทุกคนก็ร่วมมือกันเป็นอย่างดี











แล้วเจอกันใหม่ครับบบบบบบ



   

              











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น