วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

วัน พฤหัสบดี ที่ 23 เดือน มกราคม พ.ศ.2557

สัปดาห์ที่ 12

หมายเหตุ : วันนี้ดิฉันไม่ได้ไปเรียนเนื่องจากดิฉันป่วย จึงสรุปการเรียนสัปดาห์นี้จากของนางสาววรรณนา เอี่ยมวิสุทธิสาร

กิจกรรมที่ 1 วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มที่ 1 สอบสอนตามแผนการจัดประสบการณ์ของกลุ่มที่ 1




กิจกรรมกลุมที่ 1 




ตัวอย่างแผนการสอนของกลุ่มที่ 1
เรื่อง ชนิดของไก่



กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมชวนคิดโดยใช้ไม้ขีดไฟ

           จากกิจกรรมนี้สิ่งที่ได้ คือ ให้ทุกคนได้รู้จักคิดสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาในการออกแบบไม้ขีดให้เป็นรูปร่างต่างๆ 




ตัวอย่างกิจกรรม











วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

วัน พฤหัสบดี ที่ 16 เดือน มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 11

             วันนี้อาจารย์ให้แต่ละคนออกไปนำเสนอการทำสื่อเพื่อประกอบกิจกรรมในการสอนของตัวเอง ที่ทำสื่อเพื่อไปสอนให้กับเด็กๆโดยทำสื่อที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์และใช้อุปกรณ์ที่ประยุกต์มาจากวัสดุเหลือใช้ต่างๆ โดยมีหัวข้อกำหนด ดังนี้
1.ชื่อกิจกรรม
2.วัถุประสงค์
3.อุปกรณ์
4.วิธีดำเนินกิจกรรม



ขั้นนสอน 
              กิจกรรมต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ซึ่งให้เขียนตามหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้แบ่งกันตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว โดยที่ให้แต่ละคนเขียนแผนในการจัดประสบการณ์ในหนึ่งวันว่าจะสอนเรื่องอะไร โดยอาจารย์เตรียมแบบฟอร์มมาให้และให้นักศึกษาเขียนตามหัวข้อในแบบฟอร์ม








ตัวอย่างแบบฟอร์มการจัดประสบการณ์


การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้รู้สึกว่าในการฝึกการเขียนแผนในวันนี้ก็ยากพอสมควรและมีการสับสนบ้างในบางหัวข้อในการเขียนแผนวันนี้
เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆแต่ละคนต่างตั้งใจในการเขียนแผนกันมากและแต่ละคนต่างมีการคิดที่หลากหลายและเพื่อนๆต่างแชร์ความคิดกันในการเขียนแผน
อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ได้อธิบายในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้พวกเราได้เข้าใจง่ายๆ และช่วยแนะนำวิธีการเขียนให้พวกเราเป็นอยางดี





สู้ตายคร๊..................^ ^

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

วัน พฤหัสบดี ที่ 9 เดือน มกราคม พ.ศ.2557



สัปดาห์ที่ 10

ความรู้ที่ได้รับ

           วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานที่อาจารย์แบ่งไว้ให้ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว โดยจะมีหัวข้อที่แต่ละกลุ่มจะนำเสนอ ดังนี้

            กลุ่มที่ 1 เรื่องการวัด ซึ้งเกี่ยวกับการวัดหาค่า น้ำหนัก ส่วนสูง ความยาว ปริมาณ ซึ้งเด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวัดมากขึ้นโดยให้เด็กใช้เครื่องมือแบบไม่เป็นทางการ เช่น การใช้ศอก คืบ วา ของตัวเด็กเองในการวัดหาค่าต่างๆ
            กลุ่มที่ 2 สาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ้งเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปของแบบแผนภูมิ เช่น การที่ให้เด็กๆได้เลือกว่าชอบกินนมรถอะไรมากที่สุดและเก็บข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทำเป็นแผนภูมิ
            กลุ่มที่ 3 เรขาคณิต ซึ่งเกี่ยวกับรูปทรงต่างๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม รูปวงกลมเป็นต้น โดยที่เราจะให้เด็กๆได้เรียนรู้รูปทรงเหล่านี้จากสิ่งของใกล้ๆตัวเด็กๆเอง เช่น รูปทรงกล่องนม ขวดน้ำ เป็นต้น
            กลุ่มที่ 4 พีชคณิต ซึ่งเกี่ยวกับการที่จะให้เด็กๆได้เรียนรู้ถึงแบบรูปต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันโดยที่เราอาจจะทำแบบอย่างเป็นแพทเทิลให้เด็กๆดูเป็นแบบอย่างฉบับหนึ่งแล้วให้เด็กได้สังเกตว่ารูปต่อไปจะเป็นอะไร เช่น หน่วยรูปทรง วงกลม - สี่เหลี่ยม - สามเหลี่ยม - วงกลม - สี่เหลี่ยม - สามเหลี่ยม




ตัวอย่างกลุ่มดิฉันเรื่องพีชคณิต

ขั้นกิจกรรม

           วันนี้หลังจากนำเสนองานแต่ละกลุ่มเสร็จอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน โดยให้แต่ละกลุ่มเลือกหน่อยที่จะไปสอนเด็กๆซึ่งให้ระดมความคิดช่วยกัยในกลุ่ม และทำเป็น My Mapping






ตัวอย่างกลุ่มดิฉันทำหน่วย"ส้ม"



การนำไปประยุกต์ใช้

             สามารถนำสระการเรียนรู้หน่วยต่างๆไปเขียนแผนการสอนจัดประสบการณ์ให้เด็กๆได้และยังสามารถปรับไปใช้สอนแบบบูรณาการให้เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ได้

การประเมิณผล

ตนเอง : วันนี้สนุกสนานกับการทำกิจกรรมมากๆและยังทำให้เรากล้าที่คิด กล้าที่พูดและเสนอออกมาให้คนอื่นๆได้รับรู้
เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆต่างคนต่างให้ความร่วมมือในการระดมความคิดต่างๆ และทุกคนมีความสุขสนุกสนานในการทำกิจกรรมกันเป็นอย่างมาก
อาจารย์ : วันนี้อาจารย์มีเทคนิคใหม่ๆในการสอนนักศึกษาเขียนแผนการสอนโดยเปิดโอกาสผ่านการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ระดมความคิดกันในการทำแผนการสอนในหน่อยต่างๆโดยที่ไม่ขัดค้านความคิดนักศึกษาเลย

            



วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

วัน พฤหัสบดี ที่ 2 เดือน มกราคม พ.ศ. 2556


   สัปดาห์ที่ 9

            วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนเกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์โดยเชื่อมโยงเข้ากับหลักสูตรการสอนผ่าน

กิจกรรม ทั้ง 6 กิจกรรมหลักสำหรับเด็กปฐมวัย



วิธีการบูรณาการสาระคณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ดังนี้

             1.คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ รูปทรง ทิศทาง ของการเคลื่อนไหว สัญลักษณ์  การนับจำนวน เรียนรู้แบบรูป และการจับคู่แบ่งกลุ่ม

         2.คณิตศาสตร์กับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงและเด็กยังได้คิดจินตนาการในการออกแบบรูปทรงต่างๆได้ซึ้งในการที่เด็กได้ทำกิจกรรมนี้เด็กสามารถต่อเดิมความรู้หรือประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่ได้

         3.คณิตศาสตร์กับกิจกรรมการเล่นเสรี เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรี ตามความสนใจและความต้องการของเด็กทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย ให้เด็กรู้จักคิดวางแผนและตัดสินใจในการทำกิจกรรม

         4.คณิตศาสตร์กับกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการนับ ความช้า เร็ว ความสูง ขนาด ทิสทางการแกว่ง เช่น การเล่นชิงช้า

         5.คณิตศาสตร์กับเกมการศึกษา 
             5.1.เกมจับคู่
               -จับคู่รูปร่างที่เหมือนกันน
               - จับคู่ภาพสัมพันธ์
               - จับคู่ภาพกับโครงร่าง
               - จับคู่ภาพเงา
             5.2.เกมภาพตัดต่อ(ที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน)
             5.3.เกมจัดหมวดหมู่
             5.4.เกมโดมิโน
             5.5.เกมเรียงลำดับ 
             5.6.เกมล็อทโต้

          6.คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เน้นให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและมีโอกาสค้นพบด้วยตนเองให้มากที่สุด ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับระยะเวลา 



การนำไปประยุกต์ใช้
         
            เราสามารถนำเทคนิคการบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรม 6 หลักนำไปสอนเด็กๆได้และเรายังสามารถนำไปวางแผนในการที่จะหาสื่อหรือุกรณ์ที่สามารถช่วยพัฒนาเด็กได้ทั้ง 4 ด้านมาประยุกต์ใช้สอนเด็กๆได้เพื่อให้เด็กๆได้เกิดการเรียนรู้ได้หลากหลายด้าน


การประเมิณผล

        ตนเอง: วันนี้มาเรียนแต่เช้า ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการช่วยระดมความคิดตอบคำถามอาจารย์ได้เป็นอย่างดี

        เพื่อน: วันนี้เพื่อนๆมาเรียนน้อยมากกว่าทุกวันแต่เพื่อนๆที่เหลือในวันนี้ก็ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดีและเพื่อนๆทุกคนต่างช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ได้เป็นอย่างดี

        อาจารย์: วันนี้อาจารย์มีเทคนิคในการสอนที่ให้นักศึกษาได้ดูว่าการสอนคณิตศาสตร์ที่ต้องบูรณาการให้เชื่อมโยงกับกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างไร และอาจารย์ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาทุกคนได้กล้าที่จะพูด กล้าที่จะตอบคำถามโดยที่อาจารย์จะไม่คัดค้านความคิดของนักศึกษาเลย







บ๊าย บาย เจอกันวันใหม่นะจ๊ะ



วัน พฤหัสบดี ที่ 26 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556



สัปดาห์ที่ 8

หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับเทศกาลปีใหม่







วัน พฤหัสบดี ที่ 19 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2556


สัปดาห์ที่ 7 


หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยราชภัฎจันเกษม