วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


การทำสื่อคู่


หมายเหตุ:  สื่อนี้ยังไม่ได้นำไปให้เด็กได้ทดลองเล่นเนื่องจากสื่อนี้ยังต้องมีข้อแก้ไขและยังไม่สมบรูณ์สักเท่าไหร่ แล้วเนื่องจากเวลาไม่เพียงพอ





ตัวอย่างสื่อคู่ของดิฉัน


คำแนะนำจากการทำสื่อ
            
         อาจารย์ให้คำแนะนำว่าต้องไปแก้ไขในการจัดวางรูปสัตว์ต่างๆใส่ลูกเตาให้มีความสัมพันธ์กันมากกว่านี้เนื่องจากการทำรูปสัตว์ที่มองไม่เห็นเป็นภาพใหญ่ภาพเดียว และยังไม่เห็นแนวเชื่อมโยงกันจะทำให้เด็กมองได้ไม่ชัดเจน  และอาจารย์ยังให้คำแนะนำว่าถ้าไม่อยากแก้ใหม่ทั้งหมดก้อควรหาแพทเทิ้นของสื่อนี้เพื่อให้เด็กมองเห็นรูปแบบการเล่นได้ชัดเจนขึ้น เช่น การตัดกระดาษสีเป็นรูปเรขาคณิตวางตรงจุดกลางของแล๊ตโต้ การทำเช่นนี้จะเป็นการใช้สีของรูปเรขาคณิตเป็นแพทเทิ้นในการเชื่อมโยงภาพ และยังเป็นการสอดแทรกคณิตศาสตร์ให้เด็กในเรื่องของรูปทรงต่างๆด้วย


การนำไปประยุกต์ใช้

            เราสามารถนำสื่อนี้ไปใช้สอนเด็กได้ เช่น เรื่องคณิตศาสตร์ รูปทรง ขนาด และยังเป็นการให้เด็กได้เล่นได้พัฒนาในด้านสติปัญญาได้ และเรายังสามารถนำคำแนะนำของอาจารย์ไปแก้ไขปรับเปลี่ยนสื่อไปใช้ได้อย่างสมบรูณ์และถูกต้องได้

การประเมินผล

ตนเอง : การทำสื่อนี้ดิฉันได้แก้ไขและช่วยระดมความคิดกับเพื่อนๆในการออกแบบสื่อนี้ได้เป็นอย่างดี

เพื่อน : เพื่อนๆแต่ละคนต่างมีความคิดที่หลากหลายในการประดิษสื่อที่แตกต่างกันออกไป

อาจารย์ : อาจารย์ให้คำแนะนำกับสื่อของนักเรียนทุกคน และให้นักศึกษาไปแก้ไขสื่อเพื่อที่จะให้ได้สื่อออกมาอย่างสมบรูณ์แบบมากที่สุด




วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วัน พฤหัสบดี ที่ 13 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

สัปดาห์ที่ 15 

         วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนเนื้อหาและสระทางคณิตศาสตร์ในการนำไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็กๆ ซึ้งอาจารย์ได้อธิบายถึงการเรียนรู้ของเด็กว่า เด็กจะมีการเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรมเล่นการเล่นต่าง ในการจัดกิจกรรมควรจัดในเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก แล้วเราควรให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติและตัดสินใจเอง


ขั้นกิจกรรม

           วันนี้อาจารย์ให้ทำแผ่นผับในการให้ความรู้ผู้ปกครองแล้วให้นำเสนอทีละกลุ่มตามหัวข้อเรื่องที่แต่ละกลุ่มได้รับมี 4 กลุ่ม
ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เรื่องกุ๊กไก่หลายชนิด
กลุ่มที่ 2 ส่วนประกอบของไก่กับคณิตศาสตร์
กลุ่มที่ 3 เรียนรู้ประโยชน์และโทษของไก่
กลุ่มที่ 4 ขนาดของไก่กับคณิตศาสตร์



ตัวอย่างแผ่นผับให้ความรู้ผู้ปกครอง

ข้อแนะนำที่ครูให้แต่ละกลุ่ม มีดังนี้

กลุ่มที่ 1 ปรับบทสนทนาและคำพูดให้สั้นกว่านี้แล้วควรใช้คำที่ง่ายๆเข้าใจชัดเจน
กลุ่มที่ 2 ปรับปรุงเรื่องสระควรเลือกแค่เรื่องที่จะแนะนำผู้ปกครอง
กลุ่มที่ 3 ปรับในเรื่องของการใส่สี ไม่ควรใส่สีเข้มเกินไปเพราะจะทำให้อ่านตัวหนังสือไม่ชัดเจน
กลุ่มที่ 4 ปรับเปลี่ยนในเรื่องของเกม ให้ดูชัดเจนและเล่นได้ง่ายขึ้นกว่านี้จะได้ไม่สับซ้อนในการเล่นเกม

การนำไปประยุกต์ใช้

       เราสามารถนำการทำแผ่นผับนี้ไปใช้ในการให้ความรู้ผู้ปกครองเด็กได้ และสามารถนำไปให้ความรู้ในเรื่องอื่นๆได้ในการทำกิจกรรมต่างๆ แล้วยังเป็นการนำเทคนิคคำแนะนำต่างต่างที่ครูเสนอแนะไปปรับปรุงเปลี่ยนไปจัดรูปแบบในการทำแผ่นผับใหม่ๆได้

การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้ได้ร่วมระดมความคิดในการทำแผ่นผับได้ดี และรู้สึกสนุกสนานในการทำกิจกรรมมาก
เพื่อน : เพื่อนๆแต่ละกลุ่มต่างช่วยกันระดมความคิดออกแบบแ่ผ่นผับกันเป็นอย่างดี
อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ให้คำแนะแนะในการทำแผ่นผับให้ความรู้ผู้ปกครองได้อย่างชัดเจน






วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วัน พฤหัสบดี ที่ 6 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

สัปดาห์ที่ 14

           วันนี้อาจารย์ให้พวกเราเขียน my map เกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากการอ่านโดยที่ให้เรากำหนดหัวข้อเอง เขียนตามที่เราได้รับจากที่อ่านมาให้ได้มากที่สุด โดย my map ของดิฉันมีหัวข้อหลักๆ
ดังนี้

        1.สาระสำคัญ
            - สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
            - สาระที่ 2  การวัด
            - สาระที่ 3  เรขาคณิต
            - สาระที่ 4  พีชคณิต
            - สาระที่ 5  การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

        2.ความหมายคณิตศาสตร์
              คือ การสังเกต การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ เพื่อเป็นพื้นฐานที่ทำให้เด็กเข้าใจ แลพร้อมที่จะเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ต่อไปในอนาคต

        3.ความสำคัญทางคณิตศาสตร์
               คือ เพื่อช่วยให้เด็กได้รู้จักการแก้ไขปัญหา และสามรถคิดคำนวณ และอื่นๆได้

        4.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
                1. คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
                2. การนับ
                3. การแบ่ง
                4. รูปทรง
                5. การวัด
                6. เงินและค่าของเงิน
    
        5.ประสบการณ์พื้นฐาน
                1. การคิดโดยรอบรู้
                2. จำนวน
                3. การสังเกต
                4. มิติสัมพันธ์
                5. เวลา
 
             




         my map ของดิฉัน


  อาจารย์ได้เสริมในเรื่องของการเขียน my map โดยมีหัวข้อหลักๆในการเขียน
  ดังนี้

1.คณิตศาสตร์ 
   -สาระคณิตศาสตร์
   -ทักษะคณิตศาสตร์
   -ความหมาย
   -ความสำคัญ

2.จัดประสบการณ์

3.เด็กปฐมวัย
   -การพัฒนาการ
   -วิธีการเรียนรู้

ขั้นกิจกรรม
        วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่มทำแผ่นผับในการที่จะไปแจกให้ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย โดยให้แต่ละกลุ่มคิดหน่วยกิจกรรมที่จะทำแผ่นผับเอง





ภาพบรรยากาศในการทำกิจกรรม

การนำไปประยุกต์ใช้
           จากกิจกรรมการทำแผ่นผับนี้เราสามารถนำไปใช้ในโอกาสต่างๆได้ เช่น การทำแผ่นผบเชิญชวนต่างๆ และเราสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนของวิชาอื่นๆได้ และเราก็ยังทำเป็นแผ่นผับเพื่อเป็นการแนะแนวผู้ปกครองในการสอนเด็กๆได้

การประเมิณผล
ตนเอง : วันนี้ไม่รู้สึกเบื่อกับการเรียนมากนักเพราะได้ทำกิจกรรมสบายๆและสนุกสนาน 
เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆทุกกลุ่มต่างช่วยกันระดมความคิดในการทำกิจกรรมแผ่นผับกันเป็นอย่างดี
อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ได้ฝึกให้นักศึกษาได้ทำแผ่นผับ และยังได้ให้คำแนะนำในเรื่องของการแบ่งหน้า แบ่งหัวข้อ ในการเขียนแผ่นผับได้อย่างชัดเจนและเข้าใจมากขึ้น










สรุปบทบทความ


สรุปบทความ

ชื่อบทความ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ

         การจักการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยควรเน้นให้เด็กได้มีโอกาสกระทำกับวัตถุต่างๆ เพราะเด็กวัยนี้เรียนรู้โดยอาศัยประสาทสัมผัสรับรู้และการเคลื่อนไหว เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา ในการจัดการเรียนควรเน้นให้เด็กได้พัฒนาประสาทสัมผัสให้มากที่สุดและกระตุ้นให้เด็กได้คิดและมีโอกาสกระทำหรือลงมือปฏิบัติ รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆซึ้งวิธีนี้จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆรอบตัวได้ดีขึ้น



       





              
         


วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย






ชื่อวิจัย
 การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ผู้ทำวิจัย 
ศิริลักษณ์    วุฒิสรรพ์

ความมุ่งหมายของการทำวิจัย
1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
2. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์รายด้านของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจักการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย

กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนระดับอนุบาลชาย - หญิง อายุ 5 - 6 ปี ซึ้งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนบ้านสามแยกสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต 2
ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรจัดการกระทำ คือ การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
2. ตัวแปรตาม คือ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. แผนการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย
2. แบบประเมินเชิงปฏิบัติทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปผลการวิจัย
ค่าเฉลี่ยของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างชัดเจนเด็กปฐมวัยได้ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งหมด 4 ทักษะ และการทดลองครั้งนี้ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยรวม ร้อยละ 93.4 








วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สรุปวีดีโอ



สรุปวีดีโอ
เกี่ยวกับการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

           ในการสอนคณิตศาสตร์เราต้องปูพื้นฐานคณิศาสตร์ให้แน่นและให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมประจำวัน โดยลำดับแรกให้เด็กสนใจเรื่องตัวเลข รูปร่าง และทำกิจกรรมที่มีเรื่องตัวเลขเหล่านี้รวมอยู่ โดยจะเป็นการทำให้เด็กเริ่มคุ้นเคยกับตัวเลข การนับ และในกิจกรรมที่เราจัดขึ้นมานั้นเราต้องเป็นคนกำหนดว่าอยากจะให้เด็กเรียนรู้ในเรื่องอะไรจากกิจกรรมเหล่านั้นแล้วปล่อยให้เด็กเป็นผู้นำกิจกรรมเอง
            การเรียนการสอนตลอดหลักสูตรอย่างน้อยจะต้องให้มีคณิตศาสตร์สัปดาห์ละหนึ่งครั้งและในการเรียนแต่ละครั้งควรจัดกิจกรรมให้หลากหลายรูปแบบ เพื่อที่จะให้เด็กเกิดความรู้และมีการพัฒนาการหลายๆด้านไปพร้อมๆกัน



วัน พฤหัสบดี ที่ 30 เดือน มกราคม พ.ศ.2557

สัปดาห์ที่ 13

วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาสอบสอนตามหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้รับตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้ว

กลุ่มที่ 2 เรื่องไข่
          กลุ่มนี้จะสอนในเรื่องของชนิดของไข่โดยใช้คำคล้องจอง สอดแทรกคณิตศาสตร์ในเรื่อง จำนวน การนับ รูปทรงต่างๆ

กลุ่มที่ 3 เรื่องไก่
          กลุ่มนี้จะมีการสอนเด็กในเรื่องของการแยกส่วนประกอบของไก่ว่ามีอะไรบ้าง เช่น ตา ขา หงอนไก่ เป็นต้น และยังสอนเด็กในเรื่องของชนิดและประเภทของไก่ โดยจะมีภาพตัดต่อของไก่มาให้เด็กๆได้ทดลองเล่น

กลุ่มที่ 4 เรื่องไก่
           กลุ่มนี้จะสอนเด็กในเรื่องของชนิดไก่ โดยจะสอนในรูปแบบการเล่านิทาน สอดแทรกคณิตศาสตร์ในเรื่องของ จำนวน การนับ

กลุ่มที่ 5 เรื่องไก่
            กลุ่มนี้จะสอนเด็กในเรื่องของการดูแลไก่ ที่อยู่อาศัย อาหาร และยังสอนให้เด็กรู้ชนิดและประเภทของไก่โดยสอนผ่านการดูวีดีโอ และมีภาพประกอบ เช่น รูปภาพของอาหารไก่ ข้าวสาร แตงโม




ตัวอย่างกิจกรรม

              หลังจากที่เพื่อนๆแต่ละกลุ่มสอบสอนเสร็จอาจารย์ก็ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มว่าจะต้องเพิ่มเติมตรงไหนบ้าง หรือต้องแก้ไขตรงไหน และสุดท้ายหลังจากที่อาจารย์ได้ให้คำแนะนำแต่ละกลุ่มเสร็จเรียบร้อยแล้วอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มไปอัดวีดีโอการสอนของแต่ละคนในกลุ่มของตนเองพร้อมกับให้ไปเขียนแผนเดี่ยวและแผนกลุ่มเพื่อนำมาส่งในอาทิตย์ทันไป


การนำไปประยุกต์ใช้
           เราสามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขเพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนเด็กๆได้ และเรายังสามารถนำไปประยุกต์สอดแทรกการสอนในวิชาอื่นๆได้ ในการสอนต่างๆเราสามารถนำการเขียนแผนที่เราฝึกเขียนไปใช้เขียนแผนการสอนในวิชาต่างๆได้


การประเมิณผล
ตนเอง : วันนี้ได้ออกไปสอบสอนในเรื่องไก่รู้สึกว่าตัวเองยังมีข้อบกพร่องยุเล็กน้อยยังต้องปรับปรุงในเรื่องวิธีการสอนอีกมาก
เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆแต่ละกลุ่มที่ออกไปสอบสอนในเรื่องต่างๆ ทุกคนต่างมีการสอนในรูปแบบที่แตกต่างกัน และมีการบรูณาการในการสอนได้เป็นอย่างดี
อาจารย์ : วันนี้หลังจากที่แต่ละกลุ่มสอบสอนเสร็จอาจารย์ก็ให้คำแนะนำในเรื่องต่างๆ เช่น ในเรื่องของรูปการสอน อาจารย์ได้ให้คำแนะนำที่ชัดเจนและเราสามรถเข้าใจและนำไปปรับปรุงไปใช้ได้จริง





                                                                                 


วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

วัน พฤหัสบดี ที่ 23 เดือน มกราคม พ.ศ.2557

สัปดาห์ที่ 12

หมายเหตุ : วันนี้ดิฉันไม่ได้ไปเรียนเนื่องจากดิฉันป่วย จึงสรุปการเรียนสัปดาห์นี้จากของนางสาววรรณนา เอี่ยมวิสุทธิสาร

กิจกรรมที่ 1 วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มที่ 1 สอบสอนตามแผนการจัดประสบการณ์ของกลุ่มที่ 1




กิจกรรมกลุมที่ 1 




ตัวอย่างแผนการสอนของกลุ่มที่ 1
เรื่อง ชนิดของไก่



กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมชวนคิดโดยใช้ไม้ขีดไฟ

           จากกิจกรรมนี้สิ่งที่ได้ คือ ให้ทุกคนได้รู้จักคิดสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาในการออกแบบไม้ขีดให้เป็นรูปร่างต่างๆ 




ตัวอย่างกิจกรรม











วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

วัน พฤหัสบดี ที่ 16 เดือน มกราคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 11

             วันนี้อาจารย์ให้แต่ละคนออกไปนำเสนอการทำสื่อเพื่อประกอบกิจกรรมในการสอนของตัวเอง ที่ทำสื่อเพื่อไปสอนให้กับเด็กๆโดยทำสื่อที่สอดคล้องกับคณิตศาสตร์และใช้อุปกรณ์ที่ประยุกต์มาจากวัสดุเหลือใช้ต่างๆ โดยมีหัวข้อกำหนด ดังนี้
1.ชื่อกิจกรรม
2.วัถุประสงค์
3.อุปกรณ์
4.วิธีดำเนินกิจกรรม



ขั้นนสอน 
              กิจกรรมต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาฝึกการเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ซึ่งให้เขียนตามหัวข้อที่แต่ละกลุ่มได้แบ่งกันตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว โดยที่ให้แต่ละคนเขียนแผนในการจัดประสบการณ์ในหนึ่งวันว่าจะสอนเรื่องอะไร โดยอาจารย์เตรียมแบบฟอร์มมาให้และให้นักศึกษาเขียนตามหัวข้อในแบบฟอร์ม








ตัวอย่างแบบฟอร์มการจัดประสบการณ์


การประเมินผล

ตนเอง : วันนี้รู้สึกว่าในการฝึกการเขียนแผนในวันนี้ก็ยากพอสมควรและมีการสับสนบ้างในบางหัวข้อในการเขียนแผนวันนี้
เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆแต่ละคนต่างตั้งใจในการเขียนแผนกันมากและแต่ละคนต่างมีการคิดที่หลากหลายและเพื่อนๆต่างแชร์ความคิดกันในการเขียนแผน
อาจารย์ : วันนี้อาจารย์ได้อธิบายในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ให้พวกเราได้เข้าใจง่ายๆ และช่วยแนะนำวิธีการเขียนให้พวกเราเป็นอยางดี





สู้ตายคร๊..................^ ^

วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

วัน พฤหัสบดี ที่ 9 เดือน มกราคม พ.ศ.2557



สัปดาห์ที่ 10

ความรู้ที่ได้รับ

           วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนองานที่อาจารย์แบ่งไว้ให้ตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว โดยจะมีหัวข้อที่แต่ละกลุ่มจะนำเสนอ ดังนี้

            กลุ่มที่ 1 เรื่องการวัด ซึ้งเกี่ยวกับการวัดหาค่า น้ำหนัก ส่วนสูง ความยาว ปริมาณ ซึ้งเด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวัดมากขึ้นโดยให้เด็กใช้เครื่องมือแบบไม่เป็นทางการ เช่น การใช้ศอก คืบ วา ของตัวเด็กเองในการวัดหาค่าต่างๆ
            กลุ่มที่ 2 สาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ้งเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปของแบบแผนภูมิ เช่น การที่ให้เด็กๆได้เลือกว่าชอบกินนมรถอะไรมากที่สุดและเก็บข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทำเป็นแผนภูมิ
            กลุ่มที่ 3 เรขาคณิต ซึ่งเกี่ยวกับรูปทรงต่างๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม รูปวงกลมเป็นต้น โดยที่เราจะให้เด็กๆได้เรียนรู้รูปทรงเหล่านี้จากสิ่งของใกล้ๆตัวเด็กๆเอง เช่น รูปทรงกล่องนม ขวดน้ำ เป็นต้น
            กลุ่มที่ 4 พีชคณิต ซึ่งเกี่ยวกับการที่จะให้เด็กๆได้เรียนรู้ถึงแบบรูปต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันโดยที่เราอาจจะทำแบบอย่างเป็นแพทเทิลให้เด็กๆดูเป็นแบบอย่างฉบับหนึ่งแล้วให้เด็กได้สังเกตว่ารูปต่อไปจะเป็นอะไร เช่น หน่วยรูปทรง วงกลม - สี่เหลี่ยม - สามเหลี่ยม - วงกลม - สี่เหลี่ยม - สามเหลี่ยม




ตัวอย่างกลุ่มดิฉันเรื่องพีชคณิต

ขั้นกิจกรรม

           วันนี้หลังจากนำเสนองานแต่ละกลุ่มเสร็จอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน โดยให้แต่ละกลุ่มเลือกหน่อยที่จะไปสอนเด็กๆซึ่งให้ระดมความคิดช่วยกัยในกลุ่ม และทำเป็น My Mapping






ตัวอย่างกลุ่มดิฉันทำหน่วย"ส้ม"



การนำไปประยุกต์ใช้

             สามารถนำสระการเรียนรู้หน่วยต่างๆไปเขียนแผนการสอนจัดประสบการณ์ให้เด็กๆได้และยังสามารถปรับไปใช้สอนแบบบูรณาการให้เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์ได้

การประเมิณผล

ตนเอง : วันนี้สนุกสนานกับการทำกิจกรรมมากๆและยังทำให้เรากล้าที่คิด กล้าที่พูดและเสนอออกมาให้คนอื่นๆได้รับรู้
เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆต่างคนต่างให้ความร่วมมือในการระดมความคิดต่างๆ และทุกคนมีความสุขสนุกสนานในการทำกิจกรรมกันเป็นอย่างมาก
อาจารย์ : วันนี้อาจารย์มีเทคนิคใหม่ๆในการสอนนักศึกษาเขียนแผนการสอนโดยเปิดโอกาสผ่านการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ระดมความคิดกันในการทำแผนการสอนในหน่อยต่างๆโดยที่ไม่ขัดค้านความคิดนักศึกษาเลย

            



วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

วัน พฤหัสบดี ที่ 2 เดือน มกราคม พ.ศ. 2556


   สัปดาห์ที่ 9

            วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนเกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์โดยเชื่อมโยงเข้ากับหลักสูตรการสอนผ่าน

กิจกรรม ทั้ง 6 กิจกรรมหลักสำหรับเด็กปฐมวัย



วิธีการบูรณาการสาระคณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม ดังนี้

             1.คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ รูปทรง ทิศทาง ของการเคลื่อนไหว สัญลักษณ์  การนับจำนวน เรียนรู้แบบรูป และการจับคู่แบ่งกลุ่ม

         2.คณิตศาสตร์กับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับรูปทรงและเด็กยังได้คิดจินตนาการในการออกแบบรูปทรงต่างๆได้ซึ้งในการที่เด็กได้ทำกิจกรรมนี้เด็กสามารถต่อเดิมความรู้หรือประสบการณ์ที่เด็กมีอยู่ได้

         3.คณิตศาสตร์กับกิจกรรมการเล่นเสรี เด็กมีโอกาสเลือกเล่นได้อย่างเสรี ตามความสนใจและความต้องการของเด็กทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย ให้เด็กรู้จักคิดวางแผนและตัดสินใจในการทำกิจกรรม

         4.คณิตศาสตร์กับกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการนับ ความช้า เร็ว ความสูง ขนาด ทิสทางการแกว่ง เช่น การเล่นชิงช้า

         5.คณิตศาสตร์กับเกมการศึกษา 
             5.1.เกมจับคู่
               -จับคู่รูปร่างที่เหมือนกันน
               - จับคู่ภาพสัมพันธ์
               - จับคู่ภาพกับโครงร่าง
               - จับคู่ภาพเงา
             5.2.เกมภาพตัดต่อ(ที่สัมพันธ์กับหน่วยการเรียน)
             5.3.เกมจัดหมวดหมู่
             5.4.เกมโดมิโน
             5.5.เกมเรียงลำดับ 
             5.6.เกมล็อทโต้

          6.คณิตศาสตร์กับกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เน้นให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงและมีโอกาสค้นพบด้วยตนเองให้มากที่สุด ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับระยะเวลา 



การนำไปประยุกต์ใช้
         
            เราสามารถนำเทคนิคการบูรณาการคณิตศาสตร์ผ่านกิจกรรม 6 หลักนำไปสอนเด็กๆได้และเรายังสามารถนำไปวางแผนในการที่จะหาสื่อหรือุกรณ์ที่สามารถช่วยพัฒนาเด็กได้ทั้ง 4 ด้านมาประยุกต์ใช้สอนเด็กๆได้เพื่อให้เด็กๆได้เกิดการเรียนรู้ได้หลากหลายด้าน


การประเมิณผล

        ตนเอง: วันนี้มาเรียนแต่เช้า ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการช่วยระดมความคิดตอบคำถามอาจารย์ได้เป็นอย่างดี

        เพื่อน: วันนี้เพื่อนๆมาเรียนน้อยมากกว่าทุกวันแต่เพื่อนๆที่เหลือในวันนี้ก็ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดีและเพื่อนๆทุกคนต่างช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ได้เป็นอย่างดี

        อาจารย์: วันนี้อาจารย์มีเทคนิคในการสอนที่ให้นักศึกษาได้ดูว่าการสอนคณิตศาสตร์ที่ต้องบูรณาการให้เชื่อมโยงกับกิจกรรมต่างๆเป็นอย่างไร และอาจารย์ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาทุกคนได้กล้าที่จะพูด กล้าที่จะตอบคำถามโดยที่อาจารย์จะไม่คัดค้านความคิดของนักศึกษาเลย







บ๊าย บาย เจอกันวันใหม่นะจ๊ะ



วัน พฤหัสบดี ที่ 26 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556



สัปดาห์ที่ 8

หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับเทศกาลปีใหม่







วัน พฤหัสบดี ที่ 19 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2556


สัปดาห์ที่ 7 


หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันสอบกลางภาคของมหาวิทยาลัยราชภัฎจันเกษม